วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

จากใจนายอภิภู


หากเอ่ยถึงพุทธศาสนพิธี และสำนวนโวหารในภาษาไทยแล้ว คนไทยส่วนใหญ่มักไม่เข้าใจความหมายและการปฏิบัติที่ถูกต้อง จนนำไปสู่ความเชื่อ ความเข้าใจอย่างผิดๆ มาโดยตลอดในเรื่องของการใช้คำไม่ตรงกับความหมาย และหลักการในพุทธศาสนพิธี เช่นคำว่า “คว่ำบาตร” จะมีสักกี่คนที่เข้าใจว่าหมายความว่าอย่างไร ที่มาที่ไปมาจากไหน หรืออีกหลายๆ คำเช่น “กรวดน้ำ” “บังสุกุล” “ข้าวหน้าโลงศพ” “ธุดงค์” “เทวดา” “กรรม” “นรก” “บวช” “บัณฑิต” “นิพพาน” “น้ำมนต์” “บุญ” “สังฆทาน”  ความหมายของคำเหล่านี้ แม้กระทั่งผู้ที่เข้าวัดทำบุญเป็นประจำก็ยังเข้าใจกันผิดๆ มาโดยตลอด หรืออาจจะเข้าใจอย่างคลุมเครือ ไม่แจ่มแจ้ง

    “ร้อยแปดเรื่องครบเครื่องเรื่องเข้าใจผิด” ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรโชติ เกิดแก้ว (อาจารย์ผู้สอนวิชาการด้านพระพุทธศาสนาให้ผม) ได้หยิบยกวัฒนธรรม ประเพณีไทยมาอธิบายไว้อย่างละเอียด ถูกต้องประกอบกับเนื้อหาที่อ่านแล้วเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ ไม่เหมือนหนังสือวิชาการทั่วๆ ไป อ่านแล้วจะเข้าใจวัฒนธรรม ประเพณี วิธีการทางพระพุทธศาสนาได้ชัดเจน ถูกต้อง
   
    อ่านเรื่องที่ผมรวบรวมมาแล้ว ผมต้องขอร้องให้ท่านอาจารย์นำศาสนพิธีอื่นๆ ซึ่งมีอีกมากมายมาเขียนเพิ่มเติมอีก เพราะคิดว่าแค่ ๑๐๘ เรื่องนั้นน้อยเกินไป ท่านลองอ่านเองสักสองสามเรื่อง รับรองว่าไม่ผิดหวัง...

   หากท่านต้องการนำบทความเรื่องราวในบล๊อกของผมออกไปเผยแพร่ที่อื่นผมยินดีครับ...เพียงแต่ขอให้ลงเครดิสให้กับอาจารย์ของผมนิดหน่อยตรงชื่อผู้เขียนว่าเขียนโดย ผศ.ธีรโชติ เกิดแก้ว จากสำนักพิมพ์คุณา ก็ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณ ผศ.ธีรโชติ เกิดแก้ว อย่างยิ่งสำหรับบทความดีๆ ครับ

    ตอบลบ